วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week7 : คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์






คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์







 ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เห็นง่ายๆเลยก็คือการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์กันดีกว่า

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยในการทำงานของมนุษย์ โดยมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป  อีกทั้งยังมีความสามารถและประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ทั้งในด้าน ความเร็วในการประมวลผลข้อมูล และความสามารถในการเก็บข้อมูลมากขึ้น และปลอดภัย

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆรู้กันมั้ย ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไร คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน

1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป

2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย

3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่เครื่องพิมพ์ จอภาพ

4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Computer)
เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) 

2.คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal

3.คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ 

3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
     เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะโดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรม

 3.2 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
     เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานโดยได้รับการออกแบบให้สามารถ ประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียน ขึ้นมา

 3.3 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
    เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งที่โปรแกรมที่เขียนขึ้นมา

แบ่งตามความสามารถของระบบ จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความ สามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้าน วิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วน ความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นใน ตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆนอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่ายได้เป็นอย่างดี 

3.มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 

4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและ ความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1.แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำ งาน (Desktop Computer)
2.แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการของผู้ใช้งานนั้น ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ,ซอฟต์แวร์(software) ,บุคลากร(personnel)


                
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ช่องทางการสื่อสาร สถานีงาน และ อุปกรณ์ในเครือข่าย

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยากและถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg

 2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg

3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงานการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย

http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG


ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
1.  ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
2.  ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3.  ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูและหน้าต่าง
4.  ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ
5.  ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟUSP
6.  ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง
7.  ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
8.  ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดปิดสวิตช์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ

หวังว่าข้อมูลในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เขามาอ่านบล็อค 

Credit by
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p2.html
: http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น